นอนกรน อันตรายไหม เป็น นอนกรน ควร รักษาที่ไหนดี?

21122 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นอนกรน อันตรายไหม เป็น นอนกรน ควร รักษาที่ไหนดี?

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วิชญ์ บรรณหิรัญ
American Board of Sleep Medicine,
Certified international sleep specialist

นอนกรน

  นอนกรน เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก เกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ เสียงกรนเป็นอาการแสดงของการสั่นสะเทือนเนื้อเยื่อที่บ่งบอกว่า กำลังมีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งอาจเป็นจมูก คอหอย โคนลิ้น หรือส่วนของกล่องเสียง ซึ่งมีการหย่อนตัวลงเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ นอนกรนมีหลายชนิดและหลายระดับความรุนแรง นอกจากจะสร้างความรำคาญจนอาจเป็นปัญหาทางครอบครัวหรือสังคม หรือเสียบุคลิกแล้ว นอนกรน อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea หรือ OSA) ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น  อุบัติเหตุจากความง่วงนอน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นอกจากนี้ในเด็กอาจทำให้มีผลเสียต่อพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา อาจทำให้ผลการเรียนแย่ลง มีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น ปัสสาวะรดที่นอน หรือมีปัญหาต่อคนรอบข้างได้ 

  นอนกรน อาการที่บ่งบอกว่าอาจมีโรคหยุดหายใจขณะหลับ
นอนกรน เสียงดังมากเป็นประจำ คือ การหายใจไม่สะดวกเวลานอน และ อาการ กรน คือ หายใจติดขัดคล้ายหยุดหายใจ สำลักสะดุ้งตื่น เข้าห้องน้ำบ่อยกลางคืน คอแห้ง ปวดศีรษะเมื่อมีการ นอนกรน เมื่อตื่นตอนเช้า จะรู้สึก นอนหลับไม่เต็มอิ่ม รู้สึกไม่สดชื่น ง่วงนอนมากในเวลากลางวันทั้งที่ใช้เวลานอนมาก นอกจากนี้หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคอ้วน ในเด็กที่ นอนกระสับกระส่าย หายใจลำบาก  คัดจมูกเป็นประจำต้องอ้าปากหายใจบ่อย ๆ มีปัสสาวะรดที่นอน พฤติกรรมซุกซนก้าวร้าว มีผลการเรียนแย่ลงหรือเติบโตช้ากว่าวัย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาก่อนเกิดผลแทรกซ้อนในระยะยาว

  ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยการ นอนกรน
ถ้ามีปัญหาด้านการ นอนกรน ดังกล่าว ควรรีบมา พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจากการหลับ ซึ่งได้รับการรับรองจากแพทยสภา (certified sleep specialist) เพื่อแจ้งประวัติที่เกี่ยวกับสุขภาพและการนอน และรับการตรวจร่างกาย ทางหู คอ จมูก เพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนบนอย่างละเอียด และส่วนมากมักต้องทำ การทดสอบการนอนหลับ (sleep test) เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และใช้สังเกตพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย ปัจจุบัน sleep test ได้รับการยอมรับว่า เป็นการตรวจมาตรฐาน (gold standard) นอกจากนี้ในบางกรณีอาจต้องมีการส่องกล้องตรวจ เอกซเรย์ อื่น ๆ เช่น ตรวจเลือด หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจและอื่น ๆ ตามความจำเป็น

  แนวทางการรักษา นอนกรน
การรักษา นอนกรน เป็นการรักษาแบบเฉพาะบุคคล (personalized therapy) การนอนกรน แต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระดับความรุนแรง อาการ ผลการตรวจร่างกาย ผลการทดสอบการนอนหลับ สาเหตุของโรค และโรคร่วม ของการนอนกรน รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เฉพาะบุคคล และข้อดี ข้อเสียของการรักษาแต่ละวิธีซึ่งได้ผลในแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยมีแนวทางคร่าว ๆ ได้แก่

1. การรักษา นอนกรน แบบอนุรักษ์ หรือการดูแลตนเองเบื้องต้น เช่น การปรับสุขอนามัยการนอน โดย การนอนตะแคง ช่วยการ นอนกรน ได้ การลดน้ำหนัก การงดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืองดยาบางประเภท ก็จะช่วยในการ นอนกรน ได้เช่นกัน

2. การรักษา นอนกรน จากปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วม เช่น จมูกอักเสบภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ทอลซิลอักเสบ เนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรืออื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการ กรน

3. การรักษา นอนกรน ด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (positive airway pressure หรือ PAP) คนทั่วไปนิยมเรียกว่า CPAP “ซีแพ็บ” หรือ continuous positive airway pressure) หลักการคือ เครื่องจะเป่าลมผ่านทางช่องจมูก และหรือทางปาก เพื่อให้มีความดันลมแรงพอที่ จะเปิดช่องคอซึ่งเป็นทางเดินหายใจส่วนต้นได้ตลอดเวลาขณะนอนหลับ

4. การใช้อุปกรณ์ในช่องปาก (oral appliances) หลักการคือ ใส่เครื่องมือลักษณะคล้ายฟันยางหรือเครื่องดัดฟัน เพื่อป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ 

5. การผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway surgery) ปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น  การใช้คลื่นวิทยุ (radiofrequency หรือ RF), การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูก (septoplasty), การตัดทอลซิล (tonsillectomy) การตัดอะดีนอยด์ (adenoidectomy), การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน (uvulopalatopharyngoplasty)  การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนล่างมาด้านหน้า (maxillomandibular advancement), การเจาะคอ (tracheostomy) และอื่น ๆ

6. การรักษาด้วยยาหรือทางเลือกอื่น เช่น ยาพ่นจมูก เครื่องกระตุ้นประสาท การฝึกกล้ามเนื้อ และอื่น ๆ

  บริการของ PHC clinic

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้